Table of Content
What Are Core Web Vitals & How To Improve Them?
SHARE

Core Web Vitals คืออะไรและสามารถปรับปรุงยังไง?

การวัดความเร็วของเว็บไซต์ถือเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการทำ SEO เนื่องจากผู้ใช้ในปัจจุบันมีความอดทนต่ำลง เว็บไซต์ที่โหลดเร็วจะช่วยทำให้ผู้ใช้อยู่บนหน้าเว็บนานขึ้น ดังนั้นการวัดความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ (Page Speed) จึงเป็นสิ่งสำคัญหากว่าคุณต้องการที่จะ Optimize เว็บไซต์ให้ติดอันดับสูงขึ้นบน Google

Core Web Vitals คืออะไร?

Google ได้พัฒนาเครื่องมือที่มีชื่อว่า Core Web Vitals เพื่อใช้ประเมินความเร็วของเว็บไซต์ เครื่องมือนี้ถูกใช้เพื่อประเมินองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับเว็บไซต์ และทั้งหมดนี้ก็สรุปได้ว่า Search Engines ชื่นชอบเว็บไซต์ที่มีความรวดเร็วและเสถียร

การ Optimize เว็บไซต์เพื่อทำ SEO มีปัจจัยให้คำนึงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นคุณจึงไม่ควรที่จะพึ่งพาการ Optimize Core Web Vitals เพียงอย่างเดียว การที่จะสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้และเพิ่ม Traffic มายังเว็บไซต์ของคุณได้นั้น เว็บไซต์ของคุณจะต้องมีเนื้อหาที่มีคุณภาพและมีการ Optimize ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

ถึงอย่างไรก็ตาม Core Web Vitals ก็ยังคงมีความสำคัญ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO จึงจำเป็นที่จะต้องใช้มันเพื่อ Optimize เว็บไซต์

วิธีใช้งาน Core Web Vitals

กล่าวโดยสรุป Core Web Vitals ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลักที่วัดผลได้และตรงไปตรงมาซึ่งก็คือ Loading (ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ) Interactivity (ความเร็วในการตอบสนอง) และ Visual Stability (ความเสถียรของหน้าเว็บในขณะที่โหลด)

องค์ประกอบเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกำหนดประสบการณ์ใช้งานจริงของผู้ใช้ทั้งสิ้น หรือในอีกมุมนึง คือวิธีการที่ Google ใช้เพื่อเป็นการกดดันและเน้นย้ำถึงความสำคัญของระยะเวลาในการโหลดซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการจัดอันดับเว็บไซต์ คุณสามารถที่จะตรวจสอบความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์คุณได้ด้วย PageSpeed Insights โดยที่คะแนนเต็มจะอยู่ที่ 100 คะแนน

หากว่าคุณสนใจอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ Technical SEO คลิกที่ลิงก์เพื่ออ่านเกี่ยวกับ Https และ Sitemap ได้เลย

3 องค์ประกอบหลัก

  • Cumulative Layout Shift (CLS)
  • First Input Delay (FID)
  • Largest Contentful Paint (LCP)

 

เมื่อคุณเอาตัวชี้วัด Core Web Vitals มาเปรียบเทียบกัน คุณจะสามารถรู้ได้ว่าผู้ใช้มีการตอบสนองกับเว็บไซต์ของคุณอย่างไรและมีจุดไหนที่สามารถปรับปรุงได้บ้าง

Cumulative Layout Shift (CLS)

CLS คือตัวชี้วัดระดับความเสถียรของการจัดวาง Layout โดยที่ CLS จะประเมินความถี่ที่ผู้ใช้ประสบกับการเปลี่ยนแปลง Layout แบบคาดเดาไม่ได้ก่อนที่หน้าเว็บจะโหลดเสร็จ ซึ่ง CLS จะถูกคำนวณจาก Layout Shift Score ซึ่งมาจากการประเมินว่า Layout เปลี่ยนแปลงอย่างไรและมากน้อยเพียงใด คะแนน CLS น้อยกว่า 0.1 แปลว่าเว็บไซต์นั้นมี CLS ในระดับที่ดี

First Input Delay (FID)

FID คือตัวชี้วัดระยะเวลาในการตอบสนองของคำสั่ง นับตั้งแต่เวลาที่ผู้ใช้คลิกจนไปถึงการตอบสนองของเว็บไซต์ เป็นเรื่องสำคัญที่การตอบสนองจะต้องรวดเร็วมากที่สุดเท่าที่เป็นได้ FID ถูกวัดด้วยหน่วย Milliseconds และไม่ควรมากกว่า 100

Largest Contentful Paint (LCP)

LCP คือตัวชี้วัดความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ ซึ่งรวมไปถึงระยะเวลาที่รูปภาพหรือข้อความที่มีขนาดใหญ่ปรากฏบนหน้าจอ LCP ถูกวัดด้วยหน่วยวินาที (Seconds) และควรที่จะอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่า 2.5 วินาทีลงมา

คุณต้องการติดอันดับ 1 ในหน้าผลลัพธ์ Google ไหม? ติดต่อเราเพื่อขอคำแนะนำได้แล้ววันนี้ เราคือ Digital Agency ชั้นนำในไทย

Table of Content
TALK TO A SPECIALIST

Let us help you thrive online.

logo_ibex-red


Prompt, reliable, and delivers results. The IBEX team are trustworthy partners for businesses seeking reliable, results-driven solutions.
Faith Leah Lim
Faith Leah Lim

Marketing & Communications Manager
Koelnmesse

27 Google ratings
5.0
5 Facebook ratings
5.0
logo_ibex-red

Get a Free Consultation.


Prompt, reliable, and delivers results. The IBEX team are trustworthy partners for businesses seeking reliable, results-driven solutions.
Faith Leah Lim
Faith Leah Lim

Marketing & Communications Manager
Koelnmesse

27 Google ratings
5.0
5 Facebook ratings
5.0

ibex.co.th ใช้คุกกี้ ในการใช้เว็บไซต์นี้แสดงว่าคุณยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า