Table of Content
- Digital Marketing
User-Generated Content คืออะไร
User-Generated Content (UGC) คือการสร้างคอนเทนต์โดยผู้บริโภค หรือการที่คนทั่วไปสามารถสร้างและแบ่งปันคอนเทนต์บนอินเตอร์เน็ตได้ทุกช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น อินสตาแกรม, ติ๊กต๊อก, เฟซบุ๊ก และแพลตฟอร์มอื่น ๆ อีกมากมาย โดยที่คน ๆ นั้นไม่จำเป็นผู้ติดตามหลักหมื่น หลักแสน หรือหลักล้าน เพราะ ใคร ๆ ก็สามารถเป็น UGC ครีเอเตอร์ได้
User-Generated Content เป็นการทำคอนเทนต์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน บางทีเลื่อนดูสตอรี่ไอจีแล้วเจอเพื่อนรีวิวร้านทำเล็บที่พึ่งไปใช้บริการมา ด้วยความที่เพื่อนเราไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับทางแบรนด์ จึงทำให้รีวิวนั้นเป็นรีวิวที่ค่อนข้างจริงใจ และเพื่อนเราอธิบายถึงประสบการณ์การใช้บริการที่พึ่งเข้าไปใช้บริการได้เป็นอย่างดี
User-Generated Content มีกี่ประเภท
หลัก ๆ แล้วการทำ User-Generated Content จะสามารถพบได้ในสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ ถ้าหากใครสงสัยว่า UGC มีกี่ประเภท มาหาคำตอบได้ในข้างนี้เลย
- การทำคอนเทนต์บนโลกโซเชียลฯ (Social media)
- รีวิวและการทดสอบผลิตภัณฑ์ (Reviews and Testimonials)
- การเขียนบล็อก (Blogs)
- การทำคอนเทนต์แบบวิดีโอ (Video content)
- การตั้งกระทู้คำถามในฟอรั่ม (Chat forums) เช่น การตั้งกระทู้ถามบนพันทิป
- การยกตัวอย่างกรณีศึกษา (Case studies)
- รูปภาพ (Images)
- แฮชแท็ก (Hashtag contests)
- แบบสำรวจ (Surveys)
User-Generated Content ช่วยเพิ่มยอด Engagement ได้จริงไหม
User-generated Content สามารถช่วยเพิ่มยอด Engagement ในการมีส่วนร่วมกับทางแบรนด์ของคุณผ่านทางโลกออนไลน์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะสินค้าหรือบริการที่มีแฮชแท็กในสื่อของโลกออนไลน์
จากที่เราได้อธิบายไปข้างต้น จะทำให้สรุปได้ว่า User-generated Content หรือ UGC คือการทำคอนเทนต์ที่ทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น จากคนทั่วไปหรือเหล่าครีเอเตอร์ตัวเล็ก ๆ ที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับทางแบรนด์
ดังนั้นทางเลือกสำหรับทางแบรนด์ที่อยากโปรโมทสินค้าหรือบริการคือการจ้าง UGC Creators ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ เข้ามาโปรโมท เช่น หากสินค้าของแบรนด์เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน ก็ควรจ้าง UGC Creators ที่อาจจะเป็นครีเอเตอร์แม่บ้านพ่อบ้านที่ไม่ได้มีผู้ติดตามจำนวนมาก แต่ผู้ติดตามของครีเอเตอร์มีคุณภาพและไว้ใจในตัวครีเอเตอร์คนดังกล่าว
การจ้าง UGC Creators มักไม่มีการจ่ายค่าจ้างโดยตรงจากทางแบรนด์ แต่ทางแบรนด์ได้ส่งสินค้าหรือบริการไปให้เหล่า UGC Creators ได้ลองใช้งานแทน
User-Generated Content ฮิตในธุรกิจและอุตสาหกรรมไหนบ้าง
ไอเบก ดิจิทัลเอเจนซี่ (IBEX Digital Agency) ได้สรุปข้อมูลในปัจจุบันว่า User-generated Content กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมใดบ้างที่ได้รับความสำเร็จและยอดขายอย่างล้นหลามจากการเลือกทำ User-generated Content
ธุรกิจความงาม
ธุรกิจความงามได้รับการตอบรับที่ดีอย่างมากจากการทำคอนเทนต์ UGC เพราะปัจจุบันมีแพลตฟอร์มมากมายที่ทำให้ครีเอเตอร์หน้าเก่าและครีเอเตอร์หน้าใหม่ สามารถโพสต์คอนเทนต์ได้อย่างอิสระ นอกจากนี้บริการและสินค้าที่ได้ความนิยมอย่างมากในหมวดหมู่ของธุรกิจความงามยังมีหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เครื่องสำอาง บริการทำเล็บ หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า เป็นต้น
UGC ครีเอเตอร์สามารถรังสรรค์คอนเทนต์ได้ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการหยิบสินค้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน หยิบมาใช้ตอนแต่งตัวไปเรียนหรือทำงาน และหัวข้อคอนเทนต์อื่น ๆ อีกมากมาย
ธุรกิจฟิตเนส
คอนเทนต์ UGC ยังได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มธุรกิจฟิตเนส เพราะเทรนด์การดูแลสุขภาพได้รับความนิยมอยู่เรื่อย ๆ ทำให้การหยิบจับอุปกรณ์ออกกำลังกายมารีวิว หรือการทำคลิปวิดีโอสั้น ๆ ตอนไปออกกำลังกายก็สามารถทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น
ครีเอเตอร์ที่ไม่ได้มีผู้ติดตามมหาศาล แต่ว่ามีความเชี่ยวชาญหรือชื่นชอบในการออกกำลังกาย เมื่อลงคอนเทนต์เกี่ยวกับการซื้อหรือใช้บริการจากธุรกิจเหล่านี้ ทำให้เหล่าผู้ติดตามที่มีจำนวนไม่มาก มีการรับรู้และ Brand Awareness เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณมากขึ้น
ธุรกิจสิ่งของใช้ทั่วไป
User-generated Content ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับแบรนด์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งของทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพราะว่าการทำการตลาดบางทีก็เป็นอะไรที่แทบจะทำไม่ได้เลย ไม่ว่าใคร ๆ ก็สามารถหยิบสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เกิดเป็นเทรนด์ต่าง ๆ มากมาย
ยกตัวอย่างเช่น น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์แบรนด์ Vclean ได้รับการตอบรับและยอดขายอย่างล้นหลามจากเหล่าครีเอเตอร์ UGC เนื่องจากส่วนใหญ่คนที่มารีวิวผลิตภัณฑ์คือกลุ่มคนที่ใช้สินค้าจริง ๆ ทำให้แบรนด์เล็ก ๆ สามารถเพิ่มยอดขายได้อย่างรวดเร็ว
ข้อดีและข้อเสียของการทำ User-Generated Content
การเลือกทำ User-generated Content แน่นอนว่าต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี
- ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าและแบรนด์มีความจริงใจ
- แบรนด์ประหยัดงบโฆษณามากกว่าการจ้างอินฟลูเอนเซอร์หรือดารา
- ช่วยทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
ข้อเสีย
- ต้องมีการตรวจเช็กทุกวันว่ารีวิวที่เข้ามาส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือไม่
- ไม่สามารถควบคุมความคิดเห็นของผู้รีวิวได้ทั้งหมด
ระหว่าง User-Generated Content กับการจ้างอินฟลูเอนเซอร์แตกต่างกันยังไง
การทำ User-generated Content กับการจ้างอินฟลูเอนเซอร์มีความแตกต่างกันตรงที่ การทำ UGC นั้นเป็นทางเลือกสำหรับแบรนด์ที่อยากให้สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นโดยกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณภาพ ส่วนการจ้างอินฟลูเอนเซอร์อาจจะเข้าถึงกลุ่มผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์เพียงอย่างเดียว